วิธีใช้งานฟังก์ชัน Tags

ก่อนจะไปดูวิธีการใช้งานฟังก์ชัน Tags ในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป R-Web เราขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักบทบาทหน้าที่ของฟังก์ชัน Tags ว่าคืออะไร และจะมีส่วนช่วยให้การจัดการข้อมูลในเว็บไซต์เป็นเรื่องง่าย ๆ ได้อย่างไร ตามสถานการณ์จำลองนี้ค่ะ

สมมติว่า ถ้ามีลูกค้ากำลังมองหาของขวัญวันเกิดสำหรับเพื่อน ในร้านค้าออนไลน์ที่มีสินค้ามากมาย

คุณคิดว่าลูกค้าจะมีวิธีการค้นหาและเลือกสินค้าอย่างไร? ซึ่งความเป็นไปได้ก็อาจจะมีดังต่อไปนี้ค่ะ

 

1. ลูกค้าสามารถค้นหาได้จากการแบ่งสินค้าจาก “ชนิด” ของสินค้า  เช่น น้ำหอม เครื่องสำอาง เสื้อผ้า เครื่องประดับ รองเท้า นาฬิกา ฯลฯ

2. ลูกค้าสามารถค้นหาได้จากการแบ่งสินค้าจาก “ยี่ห้อ” ของสินค้านั้น เช่น Adidas, Nike, L'oreal, Shisedo, Etude ฯลฯ

3. ลูกค้าสามารถค้นหาได้จากการแบ่งสินค้าจาก “เทศกาล” เช่น วันเกิด วันครบรอบ ฯลฯ

ซึ่งความเป็นไปได้ที่ลูกค้าจะคลิกชมสินค้าก็เป็นไปได้หลายแบบนะคะ เช่น หากทราบว่าเพื่อนของลูกค้ารายนี้ชอบลิปสติกยี่ห้อ Minebellay” เป็นชีวิตจิตใจ ลูกค้าก็คงตรงดิ่งไปดูสินค้าที่เป็น "ยี่ห้อ" Minebellay เท่านั้น 

แต่ถ้าในกรณีที่ลูกค้ารายนั้นทราบแค่ว่าอยากซื้อลิปสติก แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะซื้อยี่ห้อใด ลูกค้ารายนี้ก็จะคลิกเลือกหมวดหมู่ "ชนิด" สินค้าอย่างแน่นอน


คำถาม
: หากคุณต้องอัพเดทข้อมูลในเว็บไซต์ คุณจะใส่รายละเอียดของ "ลิปสติก"
 ยี่ห้อ "Minebellay" ลงในหมวดหมู่สินค้าใด ระหว่างกลุ่ม "ลิปสติก" และกลุ่ม "ยี่ห้อ Shisedo"  

คำตอบ  เนื่องจากลูกค้าที่ต่างกัน ก็มีวิธีการค้นหาสินค้าไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงควรใส่รายละเอียดของสินค้าชิ้นเดียวกันนี้ในทั้งสองกลุ่มสินค้า เพื่อรองรับการค้นหาที่หลากหลายรูปแบบ

 

คำถามต่อไปที่จะตามมาก็คือ "แล้วอย่างนี้ก็ต้องใส่สินค้าซ้ำไปมาหลายรอบหรือเปล่า? ถ้าสินค้านี้อยู่ในหลายหมวดหมู่ นอกจากจะใช้เวลามาก แล้วจะทำให้สับสนด้วยหรือไม่?” 


แต่ไม่ต้องกังวลค่ะ  เพราะ ฟังก์ชัน “Tags” จะช่วยให้การจัดสินค้าง่ายและสะดวกขึ้น มาดูตัวอย่างการแสดงผลกันเลยค่ะ


 

ตัวอย่าง การแสดงผลสินค้า "ลิปสติก Minebellay" ซึ่งอยู่ภายใต้หมวดหมู่สินค้าประเภท "ลิปสติก"

และสินค้าชิ้นเดียวกันนี้ยังอยู่ในหมวดหมู่แยกตามยี่ห้อ คือ "Minebellay" ด้วย

โดยการเพิ่มคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องผ่านฟังก์ชัน Tags ทำให้สินค้าชิ้นเดียวอยู่ในหลายหมวดหมู่สินค้าได้

 

     จากตัวอย่างประกอบ  ทุกท่านคงเข้าใจแล้วนะคะว่าการสร้าง Tag ที่รายละเอียดของบทความนั้น จะทำให้รูปภาพและรายละเอียดนั้นถูกแสดงได้ตามหมวดหมู่ต่าง ๆ ตามต้องการโดยอัตโนมัติ  โดยไม่ต้องสร้างข้อมูลสินค้าชิ้นเดิมใหม่ทุกครั้งซ้ำกันในทุกหมวดหมู่ที่ต้องการแสดง

คราวนี้เรามาดู วิธีการใช้งานฟังก์ชัน Tags ในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป R-Web กันเลยค่ะ

 

Tags คือ ฟังก์ชันที่ให้คุณสามารถใส่คำและคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือเนื้อหาเรื่องนั้น ๆ  แล้วคำนั้นจะกลายเป็นลิงก์ให้สามารถคลิกได้

โดยเว็บมาสเตอร์สามารถใส่ Tag เพื่อแสดงผลสินค้าหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันได้อย่างเป็นหมวดหมู่ตามต้องการ 

ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์เข้าถึงเรื่องที่สนใจผ่านการคลิกลิงก์ของ Tag ได้อย่างง่ายดาย  และค้นหาสินค้าหรือบทความเรื่องที่เกี่ยวข้องได้สะดวกรวดเร็วอีกด้วย

1. วิธีการเพิ่มลิงก์ Tag ในหน้าบทความและ Landing Page

เพื่อความง่ายในการจัดหมวดหมู่สินค้าหรือบริการด้วย Tag เว็บมาสเตอร์อาจลองลิสต์รายการคำหรือคีย์เวิร์ดที่จะใช้เป็น Tag หมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสินค้า บริการ หรือบทความแต่ละรายการออกมาก่อนนะคะ  ซึ่งสินค้าหรือบทความ 1 รายการ สามารถเพิ่ม Tag ได้หลายคำค่ะ

1.1. ประเภทเมนูที่รองรับการใส่ Tags ได้แก่ เมนูประเภท บทความ (สามารถแสดงผลสินค้าจาก R-Shop ในหน้าเมนูชนิดบทความได้) และ Landing Page

โดยสามารถเพิ่ม Tag ที่เมนูที่สร้างใหม่ หรือจะคลิกแก้ไขเมนูเดิมแล้วเพิ่ม Tag ก็ได้เช่นกันค่ะ ดังตัวอย่าง

 

สร้างเมนูใหม่ ด้วยการคลิก "เพิ่มเมนู" และเลือกประเภทเมนูที่ต้องการ

 

หรือ แก้ไขเมนูเดิม โดยนำเมาส์ไปชี้ที่สัญลักษณ์ฟันเฟืองที่เมนูที่ต้องการ และคลิก "แก้ไขเมนู"
 

 

1.2. จะปรากฎหน้าต่างสำหรับใส่ข้อมูลเมนู ที่หัวข้อ "Tags" ให้กรอกคำหรือคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสินค้า บริการ หรือบทความนั้น ๆ เพื่อจัดหมวดหมู่

และใช้สัญลักษณ์  , (comma) หรือกดปุ่ม enter ที่คีย์บอร์ด ในการจบ Tag แต่ละคำ และขึ้นคำใหม่ต่อไป  เมื่อกรอก Tag เรียบร้อยแล้ว คลิก "บันทึก"

เมื่อคลิกเข้าไปในหน้ารายละเอียดของเมนูที่เพิ่ม Tags แล้ว จะปรากฎลิงก์ Tags อยู่ใต้ตำแหน่งหัวข้อเมนู ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถคลิกที่ลิงก์ Tags แต่ละคำ ซึ่งจะนำไปสู่หน้ารวมสินค้าหรือบทความเรื่องอื่น ๆ ที่มี Tags คำเดียวกันได้ทันทีค่ะ


 

หมายเหตุ : การใส่คำหรือคีย์เวิร์ดในส่วน Tags ของหน้าแก้ไขเมนูนี้ จะเอื้อประโยชน์ต่อการจัดกลุ่มข้อมูลภายในเว็บไซต์เท่านั้น  เว็บมาสเตอร์ควรใส่เฉพาะคำที่เกี่ยวข้องและสื่อความหมายจริง ๆ เพื่อไม่ให้ Tags แสดงผลบนหน้าเว็บไซต์มากเกินไป

แต่หากต้องการใส่คีย์เวิร์ดเพื่อการทำ SEO ที่มีผลกับการจัดอันดับเว็บไซต์ ของ Google แบบธรรมชาติ สามารถใส่ได้ที่ส่วน ตั้งค่า SEO สำหรับแต่ละหน้า ตามขั้นตอนการใช้งาน ที่นี่ ค่ะ

 


 


2. วิธีนำหมวดหมู่ข้อมูลจาก Tags มาแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์

เมื่อเว็บมาสเตอร์เพิ่มลิงก์ Tags ในหน้ารายละเอียดบทความ / Landing Page จนได้เป็นหมวดหมู่ใหม่ตามต้องการแล้ว เช่น หมวดหมู่สินค้า "ลิปสติก" ที่มีการ Tag แยกตามยี่ห้อไว้ในสินค้าแต่ละชิ้น เป็นต้น สามารถเลือกหมวดหมู่ข้อมูลจาก Tags มาแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ได้ ดังต่อไปนี้ค่ะ

แสดงผลหมวดหมู่ข้อมูลจาก Tags เป็นเมนูใหม่ 

โดยการคลิกปุ่ม "เพิ่มเมนู" เช่น ที่บริเวณเมนูด้านบนหรือเมนูด้านข้าง จากนั้นเลือกประเภทเมนูเป็น "เมนู Tag" จะปรากฎหน้าต่าง "เพิ่มเมนู Tag" ให้พิมพ์ชื่อเมนู และคลิกเลือก Tag ตามหมวดหมู่ที่ต้องการ  และคลิก "บันทึก"

เมนู Tag ก็จะแสดงผลที่แถบเมนูด้านบนหรือด้านข้าง โดยคุณสามารถย้ายตำแหน่งการแสดงผลโดยการ Drag & Drop หรือลากและปล่อยเมนูในตำแหน่งที่ต้องการได้ เช่น ย้ายจากเมนูด้านข้างไปยังเมนูด้านบน หรือวางเป็นเมนูระดับสอง เป็นต้น

 

นอกจากนี้ เมื่อคลิกที่เมนูประเภท Tags หรือลิงก์ Tags ที่เพิ่มมาแล้ว เว็บมาสเตอร์สามารถเลือกการแสดงผลข้อมูลสินค้า/บทความ ในแต่ละกลุ่ม Tag ให้จัดเรียงจากใหม่หาไปเก่า หรือเก่าไปหาใหม่ได้


 

ตัวอย่างการแสดงผลสินค้า "ลิปสติก" ทั้งที่ภายใต้หมวดหมู่หลัก แยกตามชนิดสินค้า ที่เมนูด้านบน

และยังแสดงผลอยู่ในหมวดหมู่สินค้าแยกตามยี่ห้อที่เมนูด้านข้าง ซึ่งสร้างจาก Tags ได้

    

  


 

Visitors: 143,430